ความแตกต่างของเครื่องปั๊มนมไฟฟ้า และเครื่องปั๊มนมแบบมือ

เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า

การที่จะเป็นคุณแม่ ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าการให้นมลูกเป็นสิ่งที่สำคัญ และบางทีก็ต้องมีตัวช่วย  อย่างเช่น เครื่องปั๊มน้ำนม ซึ่งมี 2 แบบที่ต่างกัน คือแบบธรรมดา และแบบไฟฟ้า และวันนี้เราจะมาเฉลยถึงความแตกต่างของเครื่องปั๊มนมไฟฟ้า และเครื่องปั๊มนมแบบมือ เพื่อการเลือกใช้ที่เหมาะสมกับคุณแม่แต่ละคน

น้ำนมแม่ กับภูมิคุ้มกันของลูก

         ก่อนที่เราจะไปรู้จักความแตกต่างของเครื่องปั๊มน้ำนม เรามารู้จักความสำคัญของน้ำนมแม่กันก่อน โดยเริ่มจากภูมิคุ้มกันที่ลูกจะได้เมื่อดื่มนมแม่

         น้ำนมแม่ เป็นสารอาหารจำเป็นที่ดีที่สุดสำหรับลูก เนื่องจากสารที่อยู่ในนมแม่จะมีความจำเพาะต่อลูก และนี่เป็นสิ่งที่นมผงซึ่งผลิตมาเพื่อให้คนจำนวนมากยากที่จะทำได้  โดยเฉพาะแอนติบอดี (antibody) ที่อยู่ในระบบภูมิคุ้มกันจากแม่สู่ลูก  เนื่องจากเด็กทารกยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง  เพราะเพิ่งออกจากท้องแม่ และยังไม่ค่อยเจอเชื้อโรคภายนอกมากนัก ร่างกายเลยยังไม่รู้วิธีรับมือ ดังนั้นภูมิคุ้มกันส่วนใหญ่ที่เด็กวัยนี้ได้รับจะมาจากนมแม่ เรียกการรับภูมิคุ้มกันแบบนี้ว่า Passive Immunity หรือภูมิคุ้มกันแบบรับมา ที่จะช่วยให้ร่างกายของลูกมีสารที่จะไป รับมือกับเชื้อก่อโรคต่าง ๆที่จะเข้ามาในร่างกายได้ทันที แต่ภูมิคุ้มกันแบบรับมานั้น ร่างกายของลูกไม่ได้สร้างขึ้นเอง จึงอยู่ในตัวลูกแบบชั่วคราวเท่านั้น

ระยะการผลิตน้ำนมของแม่ และสารอาหารที่ลูกจะได้รับ

สารอาหารที่อยู่ในน้ำนมแม่ จะไม่ได้เหมือนเดิม หรือคงที่ตลอดไป แน่จะแปรผันตามระยะการผลิตน้ำนมของแม่ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะน้ำนมเหลือ (Colostrum)

เป็นระยะแรกของน้ำนมที่ร่างกายของแม่จะสร้างขึ้นในช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอดบุตร สารที่อยู่ในระยะนี้สามารถบอกได้จากสีของน้ำนมเลยว่า เป็นสารสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันของลูกแน่นอน ซึ่งประกอบด้วย antibody ชนิด IgA (Immunoglobulin A) เซลล์เม็ดเลือดขาว แลคโตเฟอริน และโปรตีนชนิดต่าง ๆ  ซึ่งระยะนี้จะมีธาตุโพแทสเซียม และแคลเซียมในน้ำนมแม่ต่ำ จึงกล่าวได้ว่าเป็นระยะที่น้ำนมจะมีสารสำหรับเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูก แต่ยังไม่ได้ช่วยเรื่องของการเจริญเติบโตมาก

  1. ระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน (Transitional milk)

น้ำนมจะมีลักษณะเป็นสีขาว โดยน้ำนมชนิดนี้จะมีการผลิตในวันที่ 4 – 14 หลังคลอด และสารอาหารจะมีทั้งสารอาหารที่จำเป็นต่อระบบภูมิคุ้มกันของลูก และเริ่มมีธาตุอาหารสำคัญอย่าง โพแทสเซียม และแคลเซียม เพิ่มมากขึ้น

  1. ระยะน้ำนมแม่ (Mature milk)

น้ำนมระยะนี้จะมีสีขาว และเป็นน้ำนมส่วนใหญ่ที่ลูกจะได้รับ เนื่องจากการผลิตน้ำนมระยะนี้จะเริ่มหลังจากระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน จนถึงช่วงที่น้ำนมหมด และสารอาหารส่วนใหญ่ จะเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการ และการเจริญของลูก

ความแตกต่างของเครื่องปั๊มนมไฟฟ้า และเครื่องปั๊มนมแบบมือ

  1. เครื่องปั๊มน้ำนมแบบมือ หรือแบบธรรมดา

เป็นเครื่องปั๊มน้ำนมที่ต้องใช้แรงมือในการปั๊ม ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า จึงสามารถปั๊มที่ไหน เวลาใดก็ได้ และที่สำคัญราคาค่อนข้างย่อมเยา

  1. เครื่องปั๊มน้ำนมแบบไฟฟ้า

เป็นเครื่องปั๊มน้ำนมที่ทำงานโดยใช้ไฟฟ้า ไม่ต้องเสียแรงในการปั๊มเหมือนเครื่องที่ใช้มือ และการที่ต้องเสียบปลั๊กไฟ อาจทำให้คุณแม่หลายคนกลัว แต่ที่จริงแล้วก็ไม่ได้เป็นอันตราย และปริมาณน้ำนมที่ได้ไม่ต่างกันกับเครื่องปั๊มน้ำนมแบบมือ แต่ก็ไม่ต้องออกแรงบีบเองให้เมื่อยมือ แถมยังประหยัดเวลามากกว่าด้วย

วิธีปั๊มนมที่ถูกต้อง

         เมื่อรู้จักเครื่องปั๊มนมแล้วก็ต้องใช้ให้เป็น และวิธีการใช้เครื่องปั๊มน้ำนมที่ถูกต้อง ก็แบ่งเป็น 2 แบบตามประเภทของเครื่อง

  1. วิธีการใช้เครื่องปั๊มน้ำนมแบบธรรมดา
  • ล้างมือ อุปกรณ์ปั๊มน้ำนม และขวดนมให้สะอาด
  • เพื่อช่วยให้น้ำนมไหลได้ดี ก่อนการใช้เครื่องปั๊มช่วย ควรนวดบริเวณหน้าอกก่อน หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำอื่นประคบไว้ก่อนก็ได้
  • วางมือเป็นรูปตัว C ที่หน้าอก โดยให้นิ้วโป้งอยู่เหนือหัวนม 1 นิ้ว ส่วนนิ้วที่เหลือประคองใต้ราวนมเอาไว้
  • นำกรวยเต้าสำหรับปั๊มน้ำนมบนหัวนม โดยให้กรวยอยู่กลางหัวนม ระวังอย่ากดแรงจนเกินไป
  • เอาขวดนมมารองใต้กรวย แล้วเริ่มปั๊มโดยใช้มือออกแรง ปรับความเร็วตามความสะดวกของคุณแม่
  1. วิธีการใช้เครื่องปั๊มน้ำนมแบบไฟฟ้า
  • ล้างมือ อุปกรณ์ปั๊มน้ำนม เตรียมสถานที่ในการใช้ไฟฟ้า และขวดนมให้สะอาด
  • เพื่อช่วยให้น้ำนมไหลได้ดี ก่อนการใช้เครื่องปั๊มช่วย ควรนวดบริเวณหน้าอกก่อน หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำอื่นประคบไว้ก่อนก็ได้
  • เริ่มต้นเสียบปลั๊กเครื่องปั๊มนมไฟฟ้า จากนั้นนำกรวยเต้ามาที่กลางหัวนม โดยใช้มืออีกข้างช่วยประคองหน้าอกไว้ ระวังอย่างกดแรงเกินไป เพราะอาจทำให้หน้าอกเป็นรอยจากการกดทับได้
  • นำขวดนม หรือภาชนะที่จะสำรองน้ำนมไว้มารองใต้กรวยอีกที
  • ปรับความเร็วตามคู่มือ ควรเริ่มจากช้า แล้วค่อย ๆ ปรับให้เร็วขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ทราบความเร็วในการปั๊มที่เหมาะสม จนกระทั่งน้ำนมเริ่มไหลอย่างคงที่ (ใช้เวลาประมาณ 3 นาที) จึงเริ่มปรับความเร็วให้ช้าลง ตามความสะดวกของคุณแม่
  • เก็บน้ำนมจนได้ปริมาตรตามที่ต้องการ จากนั้นจัดเก็บในที่สะอาด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากเชื้อโรค

นมแม่เป็นสารอาหารที่สำคัญของลูก และเมื่อต้องให้นมลูกเครื่องปั๊มน้ำนมเป็นสิ่งที่จะช่วยคุณแม่ได้มากทีเดียว แต่เครื่องปั๊มน้ำนมมีอยู่ 2 ประเภท คือ เครื่องปั๊มนมแบบใช้มือ ที่ต้องออกแรงบีบเอง แต่ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า และเครื่องปั๊มนมไฟฟ้า ที่เครื่องปั๊มนมให้อัตโนมัติ ประหยัดเวลา แต่ราคาค่อนข้างสูง แน่นอนว่าด้วยข้อดีข้อเสียที่ต่างกันนี้ สามารถทำให้คุณแม่ เลือกใช้ได้ตามความคุ้มค่า และความเหมาะสม