พ่อแม่มือใหม่เลือกกะละมังอาบน้ำทารกอย่างไรดี

พ่อแม่มือใหม่เลือกกะละมังอาบน้ำทารกอย่างไรดี

     ไอเท็มลูกน้อยแรกเกิดที่ต้องใช้เป็นประจำทุกวันก็คงหนีไม่พ้น กะละมังอาบน้ำ ที่ปัจจุบันมีให้เลือกหลายแบบ หลายขนาด ตามราคาของเกรดวัสดุที่ผลิตออกมา ในการนำไปใช้งานซึ่งควรเลือกอ่างอาบน้ำเด็กแบบไหนดีวันนี้เรามีคำตอบมาฝากคุณผู้อ่านทุกท่าน พร้อมเคล็ดลับการอาบน้ำลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี

ทำความรู้จักกับ 4 ประเภทอ่างเด็กทารก

เริ่มกันที่การนำทุกท่านมารู้จักกับ 4 ประเภทอ่างทารกฉบับย่อ ได้แก่

  • แบบมาตรฐาน (Standard) สินค้าจะเป็นมีการออกแบบให้สามารถวางอุปกรณ์ หรือสิ่งของที่ต้องใช้งาน อาทิเช่น สบู่ ฟองน้ำ
  • แบบปรับระดับ (Adjust) สินค้าประเภทนี้จะเป็นการยกระดับขึ้นมาเพื่อป้องกันการลื่นไหลของเด็ก
  • แบบมีเก้าอี้ (Chair)  สินค้าจะเป็นอ่างที่ออกแบบมาให้ถอดได้และใช้งานได้ง่าย
  • แบบเป่าลม (Blow) สินค้าที่เหมาะสำหรับบ้านพื้นที่น้อยโดยจะสามารถพับเก็บและเคลื่อนย้ายได้ง่าย

     โดยแต่ละแบบจะนิยมนำไปใช้ไปใช้แตกต่างกันตามความถนัดของพ่อแม่และความเหมาะสมต่อลูกน้อย

เคล็ดลับการเลือกกะละมังอาบน้ำเด็ก

     ถัดมาเคล็ดลับการเลือกกะละมังเด็กที่เรารวบรวมมาฝากคุณพ่อคุณแม่มือให้นำไปลองพิจารณาโดยมีทั้งหมด 7 ข้อ ดังนี้

  1. การออกแบบ ควรเลือกรุ่น ยี่ห้อ หรืองานออกแบบที่เน้นความพิเศษสำหรับทารกและควรรองรับสรีระของเด็กได้อย่างเหมาะสม
  2. ขอบอ่าง ต้องระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะการอาบน้ำให้ลูกน้อยจะมีการลูบตรงขอบอ่าง หรือสังเกตว่ามีรอยคมหรือไม่เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
  3. วัสดุ เช่น พลาสติกที่ใช้ผลิตอ่างควรเป็นเกรดที่มีคุณภาพดี ทนทาน ไม่คัดงอไปตามน้ำหนักเด็ก หรือยุบตัวเมื่อใช้น้ำอุ่น
  4. รูปทรง ควรมีรูปทรงโค้งมน ไม่เป็นเหลี่ยม หรือเป็นมุมแหลมคมเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยของท่านได้
  5. ขนาด ไม่ควรเลือกใหญ่เกินไปเพราะจะทำให้คุณแม่เมื่อยมือได้ง่ายขณะอาบน้ำลูกน้อย แต่หากขนาดเล็กเกินไปเด็ก ๆ ก็จะอาบน้ำลำบากจึงควรเลือกขนาดที่พอดี
  6. อุปกรณ์กันลื่น เพื่อช่วยให้ลูกน้อยไม่จมลงในอ่างซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยอุปกรณ์กันลื่นจะช่วยให้อ่างไม่เคลื่อนที่ไปมาขณะอาบน้ำ
  7. ถอดซักได้ อุปกรณ์ทั้งหมดที่ติดมากับตัวอ่าง หรืออุปกรณ์เสริม เช่น ผ้า ตาข่าย โฟม ควรสามารถถอดซักล้าง ตากแดดได้เพื่อป้องกันเชื้อราและเชื้อโรคต่าง ๆ

ขั้นตอนการอาบน้ำลูกน้อย

     มาต่อกันที่เคล็ดลับการอาบน้ำลูกน้อยสำหรับคุณแม่มือใหม่ให้อาบน้ำลูกน้อยได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องกังวล จะเป็นอันตรายต่อเด็ก

ความถี่สำหรับการอาบน้ำทารกแรกเกิด – 1 เดือน

  • ควรจะอาบน้ำอย่างน้อยวันละครั้ง + เช็ดตัว 1 ครั้งและสระผม 1 ครั้งซึ่งขึ้นตามสภาพอากาศ โดยหากเป็นช่วงฤดูหนาวควรวันละครั้งเท่านั้น

ความถี่สำหรับการอาบน้ำทารกอายุมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป

  • ควรจะอาบน้ำอย่างวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น + สระผม 1 ครั้ง

ขั้นตอนการอาบน้ำทารกแรกเกิด

  1. เริ่มจากการทดสอบอุณหภูมิของน้ำที่เตรียมไว้โดยใช้ข้อศอกจุ่มน้ำเพื่อทดสอบว่าน้ำอุ่นพอดีหรือไม่ หรือร้อนก่อนเกินไป
  2. จากนั้นให้ถอดชุดออกแล้วห่อตัวด้วยผ้าขนหนู
  3. เริ่มต้นด้วยการนำสำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดหน้า ตาและบริเวณหูให้สะอาด
  4. หากสระผมให้ลูกแนะนำให้ใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะ จากนั้นให้ใช้แชมพูสระผมให้ลูก
  5. นำผ้าขนหนูขนนุ่มซับผมลูกให้แห้ง แล้วค่อย ๆ แก้ผ้าที่ห่อตัวทารกออก
  6. นำสบู่มาถูตามง่ามก้น ซอกคอ ซอกแขน ข้อพับต่าง ๆ และถูให้ทั่วทั้งตัวลูกน้อย
  7. จากนั้นให้นำลูกน้อยแช่ลงในอ่างน้ำอย่างช้า ๆ เบา ๆ โดยอย่าให้ลูกตกใจ จากนั้นให้กวักล้างตัวตามง่ามขาและข้อพับต่าง ๆ ให้คราบสบู่หมดจนสะอาด
  8. นำลูกขึ้นจากอ่างจากนั้นให้ซับด้วยผ้าขนหนูจนกว่าตัวแห้งสนิท แล้วทาแป้งตามข้อพับและก้นให้ลูก

ข้อควรระวังเมื่อใช้อ่างเด็ก

     ทิ้งท้ายกันด้วยข้อควรระวังขณะที่ใช้อ่างทารกเพื่อช่วยให้ลูกน้อยมีความปลอดภัยมากขึ้น

  • ควรมีการเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนอาบน้ำ เช่น สบู่ ยาสระผม ผ้าขนหนู หรือของเล่นหลอกล่อต่าง ๆ เพื่อให้ไม่ต้องลุกไปหยิบและทิ้งลูกน้อยไว้ในอ่างตามลำพัง
  • ไม่ปล่อยให้ลูกน้อยอยู่ตามลำพัง แม้จะไม่ได้มีปริมาณน้ำมาก แต่ก็สามารถทำให้เด็กจมน้ำได้เพราะเด็กไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
  • ควรวางในตำแหน่งที่ผิวเรียบ ไม่ขรุขระ ไม่ลาดเอียงเพื่อให้อ่างอยู่กับที่ ไม่เคลื่อนขณะที่มีการใช้งาน
  • ขณะที่ใช้งานไม่ควรเคลื่อนที่อ่างไปมา เพราะอาจมีโอกาสพลาดทำให้ลูกน้อยลื่นล้ม หรือคุณแม่อาจจะหลุดมือทำให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อย

     อ่างอาบน้ำเด็กทารก จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่พ่อแม่ควรใส่ใจโดยเฉพาะการเลือกอ่างแต่ละประเภทตามความเหมาะสมเพื่อให้ลูกน้อยใช้งานด้วยขนาดพอดีตัว ไม่คับ หรือกว้างจนเกินไปทำให้พ่อแม่เมื่อยมือและควรศึกษาขั้นตอนการอาบน้ำลูกน้อยเพื่อให้เกิดความปลอดภัย รวมถึงไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยอยู่ในอย่างตามลำพังเพราะเด็กในวัยนี้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง พ่อแม่จึงไม่ควรชะล่าใจและควรมีอุปกรณ์เสริมด้านความปลอดภัยเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและการสูญเสียต่าง ๆ

อ่านบทความเกี่ยวกับเด็กได้ที่ at-minbure.com